ระบบสวัสดิการเด็กและครอบครัว
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เงื่อนไขและคุณสมบัติ
การรับสวัสดิการเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
เงื่อนไขและคุณสมบัติ
การรับสวัสดิการเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์
คู่มือการใช้งานระบบสำหรับประชาชน
ตรวจสอบผลการให้ความช่วยเหลือ
ระบบงานบริการทางสังคม (เดิม)
เข้าสู่ระบบ
เลขประจำตัวประชาชน/สำหรับเจ้าหน้าที่ กรุณาระบุชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน
เงื่อนไขและคุณสมบัติ การรับสวัสดิการเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
แนวทางการให้ความช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
**********************************************
1. การให้ความช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
เป็นการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นรายครั้ง แก่เด็กและครอบครัวของเด็กที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทั่วราชอาณาจักร โดยมุ่งเสริมสร้างความมั่นคงในครอบครัวให้ครอบครัวของเด็กสามารถเลี้ยงเด็กได้เองตามควรแก่อัตภาพ ไม่ต้องแยกเด็กออกจากครอบครัวโดยไม่จำเป็น
2. เด็กและครอบครัวที่พึงได้รับการช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
เป็นครอบครัวที่บิดา มาดา หรือเฉพาะบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ที่มีเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ หรือที่อยู่ในระหว่างการศึกษาอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และเป็นครอบครัวยากจนขาดแคลน ประสบปัญหาความเดือดร้อน ซึ่งเกี่ยวเนื่องถึงตัวเด็กโดยเฉพาะอันเป็นการกระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพของเด็ก โดยเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- กำพร้า อนาถา ซึ่งมีผู้ปกครอง
- พิการทางร่างกาย สมองและปัญญา หรือจิตใจ
- บิดา มารดา หรือเฉพาะบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ประสบภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ และทุพพลภาพ ป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้
- เด็กเกิดนอกสมรส
3. การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ของเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
ให้เป็นไปตามหลักการเบิกจ่ายเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน ในอัตราและหลักเกณฑ์
ที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
3.1 ให้การช่วยเหลือเป็นเงิน
ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กหนึ่งคน และไม่เกิน 3,000 บาท
สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน
3.2 ให้การช่วยเหลือเป็นสิ่งของ (เครื่องอุปโภคบริโภค)
วงเงินไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กหนึ่งคน
และไม่เกิน 3,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน (การจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
3.3 ให้การช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของในคราวเดียวกัน
วงเงินไม่เกิน 2,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กหนึ่งคน และไม่เกิน 3,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน
3.4 ให้คำแนะนำ ปรึกษา และบริการอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เงื่อนไขและคุณสมบัติ การรับสวัสดิการเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์
1. ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ หรือ ผู้ประสบปัญหาตามระบบบริการนี้ คือ เด็กอายุ 0 – 18 ปีบริบูรณ์ เป็นเด็กกำพร้า บิดามารดาเสียชีวิต หรือ บิดามารดาทอดทิ้ง หรือ บิดามารดาไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ด้วยเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นโรคจิตโรคประสาท เป็นต้น จนเป็นสาเหตุให้เด็กได้รับความลำบากและไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง ต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของครอบครัวอุปถัมภ์
2. ครอบครัวอุปถัมภ์ หมายถึง บุคคลที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูเด็ก (ตามข้อ 1) อย่างบุตร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 ครอบครัวอุปถัมภ์แบบเครือญาติ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่ ฯลฯ เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กซึ่งเป็นบุตรหลานของตน
2.2 ครอบครัวอุปถัมภ์แบบไม่ได้เป็นเครือญาติ ไม่มีความเกี่ยวพันทางสายโลหิตกับเด็ก เช่น ผู้รับจ้างเลี้ยงเด็ก เพื่อนบ้าน และคนในชุมชน ที่ได้เลี้ยงดูเด็กอยู่ในครอบครัวหรือชุมชนอยู่ก่อนแล้ว
3. เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ที่ประสบปัญหาด้านการครองชีพ อยู่ในภาวะยากลำบาก ยากจน
4. เด็กและครอบครัวอุปถัมภ์ที่ได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติผ่านเกณฑ์แล้ว และได้รับการอนุมัติให้เป็น ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ พร้อมได้รับการพิจารณาช่วยเหลือเงินค่าเลี้ยงดูเด็กรายเดือน ตามระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง
จะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็ก ในครอบครัวอุปถัมภ์ ทั้งนี้ เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณนั้น ๆ ด้วย
5. ผู้ลงทะเบียนในระบบสวัสดิการเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ คือ ผู้ขออุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ (บุคคลตามข้อ 2) หรือ ผู้แจ้งแทน (นอกเหนือจากข้อ 2 เช่น เครือญาติ เพื่อนบ้านคนในชุมชน ผู้นำชุมชน อพม. อสม. ครู นายจ้าง คนรู้จัก และเจ้าหน้าที่เขต/อบต./อปท./เทศบาล เป็นต้น)
โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอรับความช่วยเหลือแล้วจะดำเนินการตามกระบวนงานจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ รวมถึงระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง